เมนู

เกสีวรรควรรณนาที่ 2



อรรถกถาเกสีสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเกสีสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เกสี เป็นชื่อของนายสารถีผู้ฝึกม้า. ชื่อว่า สารถีผู้ฝึกม้า
เพราะทำม้าที่ควรฝึกให้เข้าใจจึงฝึก. ในบทว่า สณฺเหนปิ ทเมติ เป็นต้น
นายสารถีทำสักการะพอสมควรแก่ม้านั้น คือ ให้กินโภชนะอย่างดี ให้ดื่มน้ำ
อร่อย พูดด้วยถ้อยคำนิ่มนวลแล้วจึงฝึก ชื่อว่าฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม. เมื่อ
ฝึกด้วยผูกเข่าผูกปากเป็นต้น และแทงด้วยปฏัก เฆี่ยนด้วยแส้ พูดคำหยาบ
ชื่อว่าฝึกด้วยวิธีรุนแรง. ต้องทำทั้งสองวิธีนั้น ตามกาลอันควร ชื่อว่าฝึกทั้ง
วิธีละมุนละม่อมทั้งวิธีรุนแรง.
จบอรรกถาเกสีสูตรที่ 1

2. ชวสูตร


ว่าด้วยสมบัติ 4 ของม้าอาชาไนยกับของภิกษุสงฆ์


[102] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา
ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อม
ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ 4 ประการเป็นไฉน คือ ชื่อตรงประการ 1
ว่องไวประการ 1 อดทนประการ 1 สงบเสงี่ยมประการ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ 4ํ ประการนี้แล

ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
ของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ
ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ธรรม 4 ประการ
เป็นไฉน คือ ซื่อตรงประการ 1 ว่องไวประการ 1 อดทนประการ 1
สงบเสงี่ยมประการ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.
จบชวสูตรที่ 2

อรรถกถาชวสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในชวสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาชฺชเวน คือซื่อตรง. บทว่า ชเวน คือฝีเท้าเร็ว. บทว่า
ขนฺติยา ได้แก่มีความอดทน คือ อดกลั้น. บทว่า โสรจฺเจน คือมีความ
แช่มชื่นเป็นปกติ. ในองค์แห่งคุณของบุคคล บทว่า ชเวน ได้แก่ด้วยกำลัง
เร็วแห่งญาณ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาชวสูตรที่ 2